MOC 103 Years

Header Image
นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานพิธีเปิดงาน “เทศกาลส้มโอและของดีเมืองเวียงแก่น” เมื่อวันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม 2567 ณ ที่ว่าการอำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย
watermark

          นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์นำทีมลงพื้นที่จังหวัดเชียงรายร่วมเปิดงาน “เทศกาลส้มโอและของดีเมืองเวียงแก่น” พร้อมส่งเสริมส้มโอเวียงแก่นขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ มั่นใจช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม นำรายได้สู่เกษตรกร และผู้ประกอบการในชุมชน จังหวัดเชียงราย
          นายนภินทร เผยเปิดว่า กระทรวงพาณิชย์มีนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนด้วยสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าอัตลักษณ์ชุมชนผลักดันการขึ้นทะเบียนสินค้า GI และการควบคุมคุณภาพมาตรฐาน ตลอดจนมีการส่งเสริมและขยายช่องทางการตลาดให้กับสินค้า GI ไทยและด้วยสินค้า GI มีความเชื่อมโยงกับพื้นที่แหล่งผลิต ภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งผลให้สินค้ามีอัตลักษณ์เฉพาะตัว จึงทำให้สินค้า GI เป็นสินค้าสำคัญที่ขับเคลื่อนโยบาย Soft Power ตามนโยบายของรัฐบาลด้วย โดยปัจจุบันมีสินค้าที่ขึ้นทะเบียน GI ทั่วประเทศแล้ว 206 สินค้า มูลค่ากว่า 71,000 ล้านบาทต่อปี เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า สร้างรายได้ให้กับผู้ผลิตและผู้ประกอบการในชุมชน นำมาสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้นและยั่งยืน
          นายนภินทร กล่าวเพิ่มเติมว่า “การลงพื้นที่จังหวัดเชียงรายครั้งนี้ ได้มีโอกาสเปิดงาน “เทศกาลส้มโอและของดีเมืองเวียงแก่น” ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ดีของอำเภอเวียงแก่น เพื่อขยายช่องทางการตลาดสำหรับสินค้าชุมชนในพื้นที่ นอกจากนี้ ยังได้พบปะพูดคุยกับเกษตรกร ผู้ประกอบการ รวมถึงหารือกับหน่วยงานในพื้นที่ เพื่อมอบนโยบายและวางแนวทางในการส่งเสริมส้มโอเวียงแก่นให้สามารถขึ้นทะเบียนเป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ในอนาคต โดยปัจจุบันจังหวัดเชียงรายมีสินค้าที่ขึ้นทะเบียน GI แล้ว 8 สินค้า คือ กาแฟดอยตุง กาแฟดอยช้าง สับปะรดนางแล สับปะรดภูแลเชียงราย ข้าวเหนียวเขี้ยวงู ข้าวก่ำล้านนาชาเชียงราย และเครื่องเคลือบเวียงกาหลง ซึ่งทั้งหมดนี้ช่วยสร้างรายได้ให้กับชุมชนในจังหวัดมากกว่า 162 ล้านบาท  
          นายนภินทร กล่าวทิ้งท้ายว่า “กระทรวงพาณิชย์ยังคงมุ่งมั่นลงพื้นที่เพื่อส่งเสริมการขึ้นทะเบียนสินค้าเกษตรที่มีอัตลักษณ์เฉพาะของชุมชนอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งสนับสนุนการจัดทำระบบควบคุมคุณภาพสินค้าตามมาตรฐาน GI เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค นอกจากนี้ ยังส่งเสริมการตลาดโดยการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า และขยายช่องทางการจำหน่ายทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ สำหรับเกษตรกรหรือชุมชนท้องถิ่นในจังหวัดใดที่สนใจนำสินค้าที่มีอัตลักษณ์และเชื่อมโยงกับแหล่งภูมิศาสตร์มาขึ้นทะเบียน GI สามารถปรึกษาได้ที่ศูนย์บริการประชาชน ชั้น 3 กรมทรัพย์สินทางปัญญา หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมทรัพย์สินทางปัญญา โทร. 1368”

 


image รูปภาพ
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image

Line

คะแนนโหวต :
starstarstarstarstar