นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการให้การต้อนรับ และหารือทวิภาคีร่วมกับ นายอี้ เลี่ยนหง เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน ประจำมณฑลเจ้อเจียง สำหรับการเยือนไทยครั้งแรก เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2566 ว่าเป็นโอกาสอันดีที่ได้กระชับความสัมพันธ์ ระหว่างกันภายหลังจากที่ นายเชี่ย เป่าหลง อดีตเลขาธิการพรรคฯ มณฑลเจ้อเจียง ได้เยือนไทย เมื่อ 6 ปีที่ แล้ว และยินดีต่อความสำเร็จของนครหางโจวและมณฑลเจ้อเจียงในการจัดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 19 และเอ เชี่ยนพาราเกมส์ครั้งที่ 4 ในช่วงเดือนกันยายน - ตุลาคม 2566 ที่ ผ่านมา
การพบปะกันครั้งนี้ได้ให้ความสำคัญกับการเพิ่มพูนความร่วมมือทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะความร่วมมือระดับมณฑล เนื่องด้วยนักลงทุนจากเจ้อเจียงเป็นนักลงทุนอันดับต้นของจีนในไทย โดยเฉพาะใน EEC โดยเฉพาะในสาขา e-commerce/ โลจิสติกส์/ พลังงานใหม่และขยายความร่วมมือผ่านนิคมอุตสาหกรรมไทย - จีน ที่จังหวัดระยอง เนื่องด้วยมณฑลเจ้อเจียงมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาคุณภาพสูง มีเศรษฐกิจภาคเอกชนที่แข็งแกร่ง ทั้งเป็น ฮับด้านดิจิทัล โดยเฉพาะเมืองหางโจว ตลอดจนบูรณาการเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี(Yangtze River Delta: YRD)
นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายเตรียมพร้อมยกระดับความร่วมมือ 4 ด้านหลัก ได้แก่ 1) เศรษฐกิจ การค้า การลงทุน 2) ดิจิทัล/ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม และความร่วมมือทางวิชาการ 3) การพัฒนาที่ยั่งยืน รถยนต์ พลังงานไฟฟ้า และ ส่งเสริมเศรษฐกิจสีเขียว และ 4) การส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์และการท่องเที่ยวระหว่างกัน
ในส่วนของไทย โดยกระทรวงพาณิชย์กระทรวงการต่างประเทศและBOI ภายใต้ทีมประเทศไทยจะพัฒนาความ ร่วมมือกับมณฑลเจ้อเจียงในระยะต่อไป โดยจะดำเนินการผ่านกลไก 3 ประการ ได้แก่
(1) การประชุมคณะทำงานไทย - มณฑลเจ้อเจียง ซึ่งฝ่ายไทยขับเคลื่อนโดยสถานกงสุลใหญ่ ณ นครเซี่ยงไฮ้
(2) การจัดทำ MOU เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางการค้าและเศรษฐกิจระหว่างกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กับกรมพาณิชย์เจ้อเจียง โดยเฉพาะประเด็นด้านการค้าบริการดิจิทัล ในฐานะที่ เจ้อเจียง เป็นฮับด้านดิจิทัลของจีน ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศมีการทำงานร่วมกับ Alibaba และ Tmall มาโดยตลอด นอกจากนี้ การ ส่งเสริมความร่วมมือด้านดิจิทัล โดยการจัดทำ MOU ระหว่าง สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) กับกรมพาณิชย์เจ้อเจียง จะสามารถช่วยขยายความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม ด้าน AI/ Big Data/ Cloud Computing ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานที่ เกี่ยวข้องได้
(3) การจัดทำ MOU เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและความเชื่อมโยงทางยุทธศาสตรร์ะหว่าง EEC ของไทยกับเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี(Yangtze River Delta: YRD) ของจีนต่อไป
ปัจจุบันมณฑลเจ้อเจียงมีมูลค่าทางเศรษฐกิจจำนวน 7.88 ล้านล้านหยวน โต 6.3% มีเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของประเทศจีน มีมูลค่าการค้าไทย-เจ้อเจียง มีจำนวน 15,900 ล้านเหรียญสหรัฐในปีที่ ผ่านมา และมณฑลเจ้อเจียงมีมูลค่าการลงทุนในประเทศไทยกว่า 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยสินค้านำเข้าสําคัญจากเจ้อเจียงไปยังไทย ได้แก่ ผลิตภัณฑ์แผ่นรีดที่ทำด้วยเหล็ก ผ้าทอใยสังเคราะห์ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์เครื่องปรับอากาศ ของใช้ที่ทำด้วยพลาสติก และสินค้าส่งออกจากไทยไปมณฑลเจ้อเจียงที่สำคัญ ได้แก่ เศษทองแดง โพลิเมอร์ของเอทลีินใน ลักษณะขั้นปฐม ผลไม้สด ยางสังเคราะห์วงจรรวมที่ใช้ในทางอิเล็กทรอนิกส์