MOC 103 Years

Header Image
นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ พบปะพูดคุยกับผู้ผลิต ผู้ประกอบการกล้วยหอมทองเพชรบุรี ในวันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม 2567 ณ สหกรณ์การเกษตรท่ายาง จ.เพชรบุรี
watermark

          นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เผยเปิดว่า กระทรวงพาณิชย์มีนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนด้วยสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าอัตลักษณ์ชุมชนผลักดันการขึ้นทะเบียนสินค้า GI และการควบคุมคุณภาพมาตรฐาน ตลอดจนมีการส่งเสริมและขยายช่องทางการตลาดให้กับสินค้า GI ไทย และด้วยสินค้า GI มีความเชื่อมโยงกับพื้นที่แหล่งผลิต ภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งผลให้สินค้ามีอัตลักษณ์เฉพาะตัว จึงทำให้สินค้า GI เป็นสินค้าสำคัญที่ขับเคลื่อนโยบาย Soft Power ตามนโยบายของรัฐบาลด้วย 
           โดยปัจจุบันมีสินค้าที่ขึ้นทะเบียน GI ทั่วประเทศแล้ว 203 สินค้า มูลค่ากว่า 71,000 ล้านบาทต่อปี สร้างงาน สร้างรายได้ให้กับผู้ผลิตและผู้ประกอบการในชุมชน นำมาสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น
          นายนภินทร กล่าวเพิ่มเติมว่า “การลงพื้นที่จังหวัดเพชรบุรีในครั้งนี้ ตนได้มีโอกาสพบปะพูดคุยกับผู้ผลิต ผู้ประกอบการกล้วยหอมทองเพชรบุรี พร้อมมอบหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียน GI กล้วยหอมทองเพชรบุรีให้กับกลุ่มเกษตรกรกล้วยหอมทองเพชรบุรี ซึ่งเป็นสินค้า GI ลำดับที่ 5 ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาเพิ่งขึ้นทะเบียนตัวล่าสุดของจังหวัดเพชรบุรีเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ด้วยลักษณะเด่นของกล้วยหอมทองเปลือกบาง เนื้อกลัวยมีสีครีมถึงเหลืองอ่อน ไร้เมล็ด เนื้อเนียนละเอียด ละมุน นุ่มฟู ไส้ไม่ฉ่ำน้ำ รสชาติหวาน จึงทำให้เป็นที่นิยมของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรและผู้ประกอบการกว่า 580 ล้านบาทต่อปี อีกทั้งยังได้รับความนิยมในตลาดญี่ปุ่นซึ่งมีการส่งออกกว่า 7,100 ตันต่อปี และเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญ”
           หลังจากมอบ ประกาศขึ้นทะเบียน GI ให้กับกล้วยหอมทองเพชรบุรีแล้ว กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ยังคงเดินหน้าส่งเสริมผู้ผลิตและผู้ประกอบการกล้วยหอมทองเพชรบุรีอย่างต่อเนื่อง ทั้งการสนับสนุนการจัดทำระบบควบคุมคุณภาพสินค้าตามมาตรฐาน GI เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค การส่งเสริมการตลาดให้กับกล้วยหอมทองเพชรบุรี ทั้งการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า การขยายช่องทางการตลาดทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ เพื่อทางโอกาสทางการค้าให้กับผู้ผลิตและผู้ประกอบการกล้วยหอมทองของเพชรบุรีให้เพิ่มขึ้น และการผลักดันให้กล้วยหอมทองเพชรบุรีขึ้นทะเบียน GI ในประเทศญี่ปุ่นต่อไป 
          ทั้งนี้ สำหรับเกษตรกรหรือชุมชนท้องถิ่นในจังหวัดใดสนใจนำสินค้าชุมชนที่มีอัตลักษณ์และเชื่อมโยงกับแหล่งภูมิศาสตร์ สามารถนำมาปรึกษาเพื่อขอรับการขึ้นทะเบียน GI ให้ที่ ศูนย์บริการประชาชน ชั้น 3 กรมทรัพย์สินทางปัญญา หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมทรัพย์สินทางปัญญา โทร.1368

 


image รูปภาพ
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image

Line

คะแนนโหวต :
starstarstarstarstar